Month: December 2021

กิจกรรมบริษัท

ความสะอาดของน้ำมันไฮดรอลิค

จากหัวข้อ ปั๊มไฮดรอลิค กล่าวถึงสิ่งปนเปื้อนในน้ำมันไฮดรอลิค ที่มีผลต่อปั๊มที่มีความละเอียดสูง ซึ่งนอกจากปั๊มแล้ว ส่วนประกอบที่สำคัญอย่าง วาล์วควบคุม (Control Valves) ยิ่งต้องมีการควบคุมสิ่งปนเปื้อนมากยิ่งขึ้น ตามชนิดของวาล์ว ดังนี้ 1. Directional Valve ควบคุมเฉพาะทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค 2. Proportional Valve ควบคุมและเปลี่ยนแปลงแรงดัน อัตราการไหล และทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค ควบคุมคามเร็ว ความเร่ง และตำแหน่งของการทำงาน

บทความรู้

คุณสมบัติของน้ำมันไฮดรอลิค

  คุณสมบัติสำคัญอีกข้อหนึ่งของน้ำมันไฮดรอลิคซึ่งมักถูกพูดถึงกันไม่มาก ได้แก่ 3. คุณสมบัติการเกิดและคายฟอง น้ำมันไฮดรอลิคเป็นตัวกลางในการส่งกำลัง ถูกสร้างแรงดันจากปั๊ม ไหลจากอ่างน้ำมันเข้าไปยังส่วนต่างๆ ของระบบไฮดรอลิค ก่อนที่จะไหลกลับสู่อ่างน้ำมัน มีโอกาสที่จะสัมผัสอากาศ จึงสามารถเกิดฟองอากาศแทรกอยู่ในเนื้อน้ำมันได้ ฟองอากาศเหล่านี้ตามธรรมชาติจะมีการรวมตัวกัน เกิดแรงเพียงพอที่จะลอยขึ้นไปยังด้านบนของผิวน้ำมัน ถ้าการคายฟองเกิดขึ้นทั้งหมดก่อนที่จะถูกปั๊มสร้างแรงดันกลับเข้าไปในระบบไฮดรอลิค ก็จะมีแรงดันคงที่เนื่องจากภายในท่อเต็มไปด้วยน้ำมันทั้งหมด แต่หากการคายฟองเกิดขึ้นไม่ทันต่อการถูกปั๊มกลับเข้าไปในระบบไฮดรอลิคอีกครั้ง แรงดันอาจไม่คงที่เนื่องจากมีฟองอากาศแทรกอยู่ในเนื้อน้ำมัน นอกจากนั้นฟองอากาศในสภาวะแรงดันสูง อาจก่อให้เกิดการสึกหรอหรือรอยตามด บนผิวชิ้นส่วนเครื่องจักรในระบบได น้ำมันไฮดรอลิคที่ดีจึงจำเป็นต้องมีคุณสมบัติการเกิดและคายฟองที่เหมาะสม การทดสอบคุณสมบัตินี้ได้แก่ ASTM D892

กิจกรรมบริษัท

คุณสมบัติของน้ำมันไฮดรอลิค (2)

  คุณสมบัติของน้ำมันไฮดรอลิค นอกจากการมีความหนืดที่เหมาะสม และการป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นแล้ว น้ำมันไฮดรอลิคที่ดี ควรมีคุณสมบัติอื่นๆ ได้แก่ 3. คุณสมบัติในการป้องกันการสึกหรอ เนื่องจากระหว่างที่น้ำมันไฮดรอลิกไหลผ่านส่วนต่างๆ ในระบบเพื่อส่งกำลังนั้น มีการไหลผ่านชิ้นส่วนที่ทำงานอยู่ในสภาวะที่มีแรงเฉือนหรือแรงกด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการสึกหรอ น้ำมันไฮดรอลิคจึงทำหน้าที่สร้างฟิล์มน้ำมันเคลือบบนผิวชิ้นส่วนเครื่องจักรดังกล่าวเพื่อปกป้องจากการสึกหรอด้วย ซึ่งน้ำมันไฮดรอลิคในท้องตลาดก็จะมีการเติมสารเพิ่มคุณภาพประเภทสารป้องกันการสึกหรอ (Anti Wear: AW) เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว แต่น้ำมันไฮดรอลิคที่มีคุณภาพก็จะมีการระบุการผ่านการทดสอบตามมาตรฐานต่างๆ ได้แก่ – Parker (formerly Denison)

บทความรู้

ช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ

เรื่องการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์อัตโนมัตินั้น ผมขอเรียนให้ทราบก่อนว่า ระยะเวลาที่สมควร ทำการเปลี่ยนถ่าย แต่ละครั้ง ก็คือ ประมาณ 25,000 ถึง 35,000 กิโลเมตรแล้วแต่สภาพการใช้งาน และสภาพทางที่วิ่ง เช่นใช้งานในเมือง ที่การจราจรติดขัดมากๆ เกียร์มีการเปลี่ยนไปมาบ่อยๆ และมีความร้อนในน้ำมันเกียร์มาก ก็ควรเปลี่ยนถ่ายที่ระยะทาง 25,000 กิโลเมตร หรือหากต้องวิ่งผ่านทางที่เป็นฝุ่นมากๆ หรือผ่านทางที่น้ำท่วมขัง ก็ควรเปลี่ยนถ่ายที่ระยะทางไม่เกิน 25,000 กิโลเมตร  

บทความรู้

ข้อดีของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์

หน้าที่หลักของน้ำมันเครื่อง คือ ให้การหล่อลื่นในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน และเคลื่อนไหวส่วนประกอบต่างๆ ที่เป็นโลหะ การเสียดสีกันของโลหะเหล่านี้ทำให้เกิดความร้อนที่สูงมากจนทำให้เกิดความเสียหายได้ สารหล่อลื่นจึงจะเข้ามามีบทบาท โดยการทำให้โลหะต่างๆ สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างนุ่มนวล และเกิดการกระทบกันน้อยลงซึ่งจะลดการสึกกร่อนและความร้อนด้วย ซึ่งน้ำมันเครื่องปกติสามารถทำได้ดีแต่น้ำมันเครื่องสูตรสังเคราะห์ทำได้ดีกว่ามาก   สารหล่อลื่นมี 3 ประเภท นั่นคือ ของเหลว (น้ำมัน), ของหนืด (จารบี) และของแข็ง (กราไฟต์) ทั้งสามอย่างนี้ได้มาจากพืชผัก, แร่ธาตุ หรือสารสังเคราะห์

กิจกรรมบริษัท

การอ่านรายงานการวิเคราะห์น้ำมันไฮดรอลิคใช้แล้ว (2)

  การอ่านรายงานการวิเคราะห์น้ำมันไฮดรอลิคใช้แล้ว (2) โลหะต่างๆ ที่มีการตรวจพบในน้ำมัน สามารถพิจารณาได้ว่า อาจมาจากการสึกหรอของส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องจักร หรืออาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง โดยปริมาณโลหะที่ตรวจพบแต่ละชนิดในหน่วย PPM จะมีเกณฑ์เฝ้าระวัง (Caution) และแจ้งเตือน (Warning) มาตรฐาน สำหรับใช้พิจารณาร่วมกับค่าที่ตรวจวัดได้จากการทดสอบอื่นๆ ดังนี้ Iron (Fe) – เหล็ก อาจมาจากการสึกหรอของชิ้นส่วนที่เป็นเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องจักร

บทความรู้

การอ่านรายงานการวิเคราะห์น้ำมันไฮดรอลิคใช้แล้ว (1)

  การอ่านรายงานการวิเคราะห์น้ำมันไฮดรอลิคใช้แล้ว (1) เมื่อได้รับรายงานการวิเคราะห์น้ำมันไฮดรอลิคใช้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำผลมาพิจารณาสิ่งที่ผู้รับผิดชอบเครื่องจักรจะต้องทำ แม้ว่าโดยปกติในรายงานการวิเคราะห์น้ำมันไฮดรอลิคใช้แล้ว จะมีผลการประเมินจากเจ้าหน้าที่ของห้องทดลอง ระบุเป็นสัญลักษณ์ตัวอักษรย่อและสี ที่ระบุถึงสภาพของตัวอย่างน้ำมันเบื้องต้น ได้แก่ N (Normal: สีเขียว), C (Caution: สีเหลือง) และ W (Warning: สีแดง) บนเอกสารอย่างชัดเจนอยู่แล้ว แต่ถ้าผู้ใช้งานมีความรู้ ความเข้าใจ ก็จะสามารถอ่านผลการทดสอบอย่างละเอียด และนำไปพิจารณาสิ่งที่จะต้องทำ

กิจกรรมบริษัท

รายงานการวิเคราะห์น้ำมันไฮดรอลิคใช้แล้ว

รายงานการวิเคราะห์น้ำมันไฮดรอลิคใช้แล้ว เมื่อได้ตัวอย่างน้ำมันที่ผ่านการเก็บอย่างถูกต้องเหมาะสม และข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นในการส่งตัวอย่างครบถ้วน ก็ควรจะต้องส่งให้กับห้องทดสอบเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากน้ำมันในขวดตัวอย่างอาจได้รับความชื้น หรือมีผลจากสภาพแวดล้อมในระยะเวลาที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แม้ว่าจะมีการบรรจุในขวดที่มิดชิด และมีการซีลอย่างหนาแน่นก็ตาม ในการกรอกข้อมูลในการส่งตัวอย่าง จะมีการระบุรายการการทดสอบ เนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นแต่ละชนิด จะมีความจำเป็นในการทดสอบที่ต่างกัน และแม้แต่การทดสอบเดียวกัน น้ำมันแต่ละชนิดก็ยังมีเกณฑ์ในการพิจารณาที่แตกต่างกันไปอีก ในกรณีของน้ำมันไฮดรอลิค จะมีรายการทดสอบ ดังนี้ การทดสอบการสึกหรอ คือการตรวจวัดปริมาณสารที่แขวนลอยอยู่ในเนื้อน้ำมันซึ่งไม่ได้อยู่ในน้ำมันก่อนที่จะมีการเติมลงในเครื่องจักร จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะมาจากการสึกหรอภายในส่วนต่างๆ ของเครื่องจักรที่น้ำมันไฮดรอลิคไหลผ่าน และได้นำพามายังจุดที่มีการเก็บ ซึ่งมักเป็นจุดที่สะดวกอย่างอ่างน้ำมัน เพราะมีช่องสำหรับเติม

บทความรู้

รถไม่ค่อยได้ใช้งาน ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องไหม?

รถไม่ค่อยได้ใช้งาน ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องไหม? การที่รถยนต์ใช้งานน้อย ไม่ว่าจะเป็นการจอดทิ้งไว้เป็นเดือน หรือขับใช้งานในเมือง ที่มีการจราจรหนาแน่น ทำให้ระยะที่ขับขี่น้อย ถือว่าน้ำมันหล่อลื่นทำงานหนัก เพราะการจอดรถทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดการปนเปื้อนของน้ำในอากาศ ทำให้สารเพิ่มคุณภาพเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้น้ำมันเครื่องเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น อีกทั้งการขับขี่ในเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น น้ำมันเครื่องก็ยังคงทำงานตลอดเวลาทั้งขณะรถติด และรถวิ่ง ดังนั้น จึงเป็นการควรที่จะพิจารณาระยะทางที่ขับขี่ ควบคู่ไปกับระยะเวลาที่เปลี่ยนถ่ายด้วย โดยเราควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง   ควรเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันเครื่องหรือไม่

กิจกรรมบริษัท

อายุการใช้งานน้ำมันเครื่อง

อายุการใช้งานน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องเมื่อถูกใช้งานจะเริ่มเสื่อมคุณภาพลงเรื่อยๆ เนื่องจากการสะสมของกรดที่เข้ามาทำลายด่างในน้ำมันเครื่อง การสะสมของน้ำ การปะปนกับฝุ่นผงที่เล็ดลอดมาจากไส้กรองอากาศ คราบเขม่าในการเผาไหม้ และเศษโลหะจากการสึกหรอของเครื่องยนต์ ดังนั้นน้ำมันเครื่องจึงต้องได้รับการเปลี่ยนถ่าย ก่อนที่คุณสมบัติในการหล่อลื่น และคุณสมบัติอื่นจะเสื่อมสภาพ เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดกับเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องที่บรรจุอยู่ในแกลลอนวางขาย และยังไม่ได้เปิดใช้ จะมีอายุการคงสภาพอยู่ที่ 1-3 ปี ส่วนน้ำมันเครื่องที่เปิดฝาแล้ว จะมีอายุการใช้งานประมาณ 2-6 เดือน ส่วนน้ำมันเครื่องที่เปิดฝา แล้วไม่ได้ปิดฝาจะถือว่าใช้งานไม่ได้   จุดสังเกตว่าน้ำมันเครื่องเริ่มหมดสภาพ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้งต้องมีการจดบันทึก

View More